คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การจัดการองค์ความรู้

 

การจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2566

(Knowiedge Management-KM)
----------------------------------------------------------------

 1. แนวทางการเขียนเค้าโครงงานวิจัยเพื่อพัฒนางาน (R2R) ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
 2. การพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะบัณฑิตวิศวกรสังคม
 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2565

(Knowiedge Management-KM)
----------------------------------------------------------------

 1. การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในหัวข้อ "Think -Pair -Share"
 2. แนวทางในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในระดับนานาชาติ
 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2564

(Knowiedge Management-KM)
----------------------------------------------------------------

 1. การจัดการความรู้ เรื่อง การบริการวิชาการในศาสตร์พระราชาบูรณาการกับการเรียนการสอน
 
2. การจัดการความรู้ เรื่อง การขอทุนจากแหล่งทุนภายนอกของอาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

-----------------------------------------------------------------------------------------

การจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2563 

(Knowiedge Management-KM)

 

------------------------------------------------------------------------------------------


การจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2562

(Knowiedge Management-KM) 

เรื่อง คู่มือการสอนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

การแสวงหาความรู้
       
ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสได้ประชุมจัดการความรู้เรื่อง “การสอนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ” ที่อาจารย์มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสายวิชาชีพ มาแบ่งปันกันวัตถุประสงค์การสอน เทคนิคการทำงาน การปรับตัวเข้าสู่การทำงาน แนวทางการศึกษาต่อ เส้นทางอาชีพ ปัญหาพิเศษ การนิเทศนักศึกษา การประเมินผลการเรียนการสอน โดยเนื้อหาสาระที่สอนมีประโยชน์ต่อนักศึกษาที่กำลังจะเป็นบัณฑิต อาจารย์ผู้สอนและหลักสูตร แต่ละสาขาวิชามีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเทคนิควิธีการ เนื้อหาสาระการสอนที่เหมาะสมกับหลักสูตรของตนเอง         ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
         ความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้เป็นการเรียบเรียงคู่มือการสอนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทั้ง 13 หลักสูตรทั้งกลุ่มมนุษยศาสตร์และกลุ่มสังคมศาสตร์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักเกณฑ์ของการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร อาจารย์สามารถใช้เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนประยุกต์ตามศาสตร์ของตนประกอบด้วยองค์ความรู้ดังนี้
                     1. ความสำคัญของการเรียน
                     2. การเตรียมการเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
                     3. กระบวนการจัดการเรียนการสอน
                     4. เส้นทางอาชีพ
                     5. แนวทางการศึกษาต่อ
                     6. การประเมินผลรายวิชา
                     7. ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
                     8. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
                     9. การนิเทศนักศึกษา 
                     10. ปัญหาพิเศษ
                     11. เกณฑ์ประกันคุณภาพระดับหลักสูตร
                     12. การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
                     13. ปัจฉิมนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

       ระบบการจัดการความรู้
         
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดการความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนวิชา เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพอย่างเป็นระบบ ในรูปแบบเล่มคู่มือการสอนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ยังเผยแพร่ในรูปแบบข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ ในเว็บไซด์ของคณะ และ facebook KM มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และเพื่อเป็นการเข้าถึงความรู้ และการแบ่งปันความรู้แก่บุคลากรในคณะและผู้สนใจ 
         การนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
         
คู่มือการสอนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการสอน รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมนักศึกษาเข้าสู่งานอาชีพ และขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิธีการการสอน การสอบภาษาอังกฤษเพื่องานอาชีพและการศึกษาต่อ แนวทางปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ หลักเกณฑ์ การประเมินผลการเรียนของวิชา การพัฒนาเส้นทางวิชาชีพตามศาสตร์ของแต่ละสาขาวิชา การค้นหาตลาดแรงงาน การใช้ชีวิตหลังสำเร็จการศึกษา ปัญหาพิเศษและบทความวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาจากวิชานี้ที่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ภายในประเทศ ทำให้นักศึกษาให้มีผลงานวิชาการเพื่อใช้ในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท    
 

 

 

 คู่มือการสอน  การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการฝึกประสบการวิชาชีพ     
 


 

เรื่อง คู่มือการทำวิจัยสร้างสรรค์หรือผลงานสร้างสรรค์
การแสวงหาความรู้
       
ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)

    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสได้ประชุมจัดการความรู้เรื่อง “การทำงานวิจัยสร้างสรรค์หรือผลงานสร้างสรรค์” โดยมีกลุ่มเป้าหมายคืออาจารย์ในกลุ่มมนุษยศาสตร์ จำนวน 8 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ และสายภาษาศาสตร์ อาจารย์สามารถนำผลงานดังกล่าวขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ ผู้ทำงานสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวทางและกระบวนการทำงานที่ต่างจากงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ และสะสมประสบการณ์จากการเรียนรู้ การทดลอง การใช้ความคิดริเริ่มปรับประยุกต์ในการการสร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรม ตลอดจนองค์ความรู้ ให้เข้ากับศาสตร์สาขาต่าง ๆ 
        ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)          ความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้เป็นการเรียบเรียงคู่มือการทำงานวิจัยสร้างสรรค์หรือผลงานสร้างสรรค์ กลไกการจัดการความรู้ ได้กำหนดให้อาจารย์ในกลุ่มมนุษยศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีอาจารย์ที่เคยทำผลงานสร้างสรรค์เป็นผู้เสวนาหลัก ถ่ายทอดประสบการณ์ที่หลากหลาย เช่น แรงบันดาลใจ การออกแบบผลงาน กระบวนการทำงาน การประยุกต์ใช้ การเผยแพร่ผลงาน และตัวอย่างงานสร้างสรรค์ด้านต่าง ๆ นำมาประมวลความรู้และกลั่นกรองเป็นคู่มือที่สามารถเข้าใจได้ง่ายตั้งแต่ต้นจนจบ อาจารย์สามารถใช้เป็นแนวทางและประยุกต์ให้เหมาะสมกับสาขาวิชาของตน ประกอบด้วยองค์ความรู้ดังนี้
        1) ความหมายของวิจัยสร้างสรรค์และงานสร้างสรรค์
        2) กระบวนการของงานสร้างสรรค์
        3) องค์ประกอบการทำงานวิจัยสร้างสรรค์ 
                 การกำหนดชื่อหัวข้อวิจัยหรือชื่อโครงการ 
                 วัตถุประสงค์
                 การกำหนดแนวคิดหรือออกแบบโครงร่างของงาน
                 การกำหนดวิธีการสร้างสรรค์
                 การวิเคราะห์ข้อมูลหรือการเขียนอรรถาธิบาย
                 การเผยแพร่ผลงาน
                 การประเมินผลด้านสุนทรียศาสตร์    
         4) ตัวอย่างผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                 งานสร้างสรรค์ด้านนาฏศิลป์
                 งานสร้างสรรค์ด้านดนตรี 
                 งานสร้างสรรค์ด้านศิลปะ 
                 งานสร้างสรรค์ด้านวรรณกรรม 

       ระบบการจัดการความรู้
        
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดการความรู้ด้านการทำงานวิจัยสร้างสรรค์หรือผลงานสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ในรูปแบบเล่มคู่มือการทำวิจัยสร้างสรรค์หรือผลงานสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ยังเผยแพร่ในรูปแบบข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ ในเว็บไซด์ของคณะ และเฟสบุค KM มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และเพื่อเป็นการเข้าถึงความรู้ และการแบ่งปันความรู้แก่บุคลากรในคณะและผู้สนใจ
       การนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
        คู่มือการทำวิจัยสร้างสรรค์หรือผลงานสร้างสรรค์สามารถนำไปพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อการขอทุนสนับสนุน อาจารย์สามารถนำไปแนวทางในการผลิตผลงานและการขอกำหนดเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการตามประกาศ กพอ. พ.ศ. 2563 ประเภทผลงานวิจัย หรือผลงานวิชาการในลักษณะอื่น อันจะส่งผลในการพัฒนาและเพิ่มจำนวนนักวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ให้แก่คณะ จากการดำเนินการดังล่าว มีอาจารย์ได้ยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในสาขาดนตรีและภาษาศาสตร์ จึงสมควรเผยแพร่ให้แก่นักวิจัยของคณะและมหาวิทยาลัยต่อไป
 

 คู่มือการทำวิจัยสร้างสรรค์หรือผลงานสร้างสรรค์  
 

การจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2561
  (Knowiedge Management-KM)
   
 



 
        

 
 
     

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร